กรี๊ดดดดดดด.....Eminem

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ STP Mag. AD นาฬิกาข้อมือ

"PUMA MOTORSPORT"
1.S (Market Segmentation)
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะสังคม
-สังคมชั้นกลางระดับล่าง
-สังคมชั้นกลางระดบบน
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะบุคลิกภาพ
-ผู้ที่มีความทะมัดทะแมง กระฉับกระเฉง
-ชอบดีไซน์ที่มีความหรูหราที่มีความเป็นสปอร์ตผสมผสานตามภาพลักษณ์ของBrand ซึ่งจากชื่อรุ่นก็บ่งบอกถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์
-ชอบความแข็งแรง แข็งแกร่ง
-ลุย อดทน
-ทันสมัย
-ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องการเหมือนใครตามใคร ต้องการที่จะเป็นผู้นำ
2.T (Target Market Selection)
ใช้กลยุทธ์การตลาดหลายส่วน : กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ที่วัยรุ่นถึงวัยทำงานที่มีรายรับปานกลางถึงสูง ซึ่ง Brand นี้เลือกกลยุทธ์การตลาดไว้ 4 ส่วน คือ วัยรุ่นรายรับปานกลาง วัยรุ่นรายรับสูง วัยทำงานรายรับปานกลาง และวัยทำงานรายรับสูง
3.P (Product Position)
กำหนดตามราคาและคุณภาพ
-ราคาค่อนข้างสูง
-ดีไซน์หรือลักษณะของผลิตภัณฑ์มีความหรูหราและมองดูแล้วยังมีความแข็งแรงแข็งแกร่งให้อารมณ์แบบสปอร์ต
-คุณภาพของนาฬิกา มีคุณภาพที่ดี ผลิตจากวัสดุที่ความทนทาน ใช้ได้ในระยะเวลาที่นาน
กำหนดตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
-มีความมั่นใจในตนเอง
-ต้องการความหรูหรา มีระดับ
-รักกีฬา หรือชอบความเป็นสปอร์ต
-มีไลฟ์สไตล์ที่สนุกสนาน
-ทันสมัย ชอบแฟชั่น
-ชอบสีสันสดใส
-ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นในสังคม
กำหนดตามการใช้และการนำไปใช้
-ดูวันเวลา
-เป็นเครื่องประดับได้ในตัว
-เป็นเครื่องบ่งบอกรสนิยม

" PLAYBOY (New Collection)"
1.S (Market Segmentation)
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะสังคม
-สังคมชั้นกลางระดับบน
-สังคมชั้นสูงระดับล่าง
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะบุคลิกภาพ
จากชื่อของ Brand ภาพลักษณ์ของ Brand Playboy และลักษณะของผลิตภัณฑ์เซตนี้...
-รักความสนุกสนาน
-ไม่ยึดติดกับสิ่งใดมากจนเกินไป
-ชอบดีไซน์เรียบหรู
-สดใส
-ชอบการใช้ชีวิตแบบสนุก เที่ยว
-มั่นใจในตนเอง
-ชอบความทันสมัย ไม่ชอบสิ่งที่ล้าสมัยและความล้าหลัง
2.T (Tarket Market Selection)
ใช้กลยุทธ์การตลาดหลายส่วน : กลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่นถึงวัยทำงานที่มีรายรับสูง เพราะราคาของ Brand นี้สูง ซึ่งเลือกกลยุทธ์การตลาดของ Brand นี้เลือกไว้สองส่วนคือ วัยรุ่นรายรับสูง และวัยทำงานรายรับสูง
3.P (Product Position)
กำหนดตามราคาและคุณภาพ
-ราคาสูง
-การออกแบบมีความเรียบหรู หรือใช้สีสันสดใส ให้อารมณ์สนุกสนานและความหรูหรา
-คุณภาพดี ผลิตจากวัสดูคุณภาพสูง ผลิตด้วยความประณีต งดงาม
กำหนดตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
-ใช้ชีวิตสนุกสนาน
-อยู่ในสังคมที่มีฐานะในระดับดี
-ทันสมัย
-ต้องการการยอมรับจากคนในสังคม
-อ่อนหวาน สดใส
-ชอบของที่มีคุณภาพ ชอบของ Brandname
กำหนดตามการใช้และการนำไปใช้
-ดูเวลา
-เป็นเครื่องประดับ
-เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะ
-เป็นเครื่องบ่งบอกรสนิยม

"ELLE"
1.S (Market Segmentation)
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะสังคม
-สังคมชั้นกลางระดับบน
แบ่งส่วนตลาดตามลักษณะบุคลิกภาพ
-ชอบดีไซน์เรียบหรู ไม่เยอะจนเกินไป
-น่าค้นหา น่าสนใจ
-ไม่ชอบการเปลียนแปลงบ่อยๆ ชอบสิ่งที่คงที่ มีเสถียรภาพ
2.T (Tarket Market Selection)
ใช้กลยุทธ์การตลาดเฉพาะส่วนเดียว : กลุ่มเป้าหมายคือวัยทำงานที่มีรายรับสูง เพราะราคาของ Brand นี้สูง ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของ Brand นี้เลือกไว้เพียงส่วนเดียวคือ วัยทำงานรายรับสูง
3.P (Product Position)
กำหนดตามราคาและคุณภาพ
-ราคาสูง
-การออกแบบมีความเรียบหรู ให้อารมณ์หรูหรา
-สินค้ามีคุณภาพดี ผลิตจากวัสดูคุณภาพสูง ทนทานต่อการใช้งาน
กำหนดตามลักษณะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
-อยู่ในสังคมที่มีฐานะในระดับดี
-หรูหรา
-มีความเสถียรภาพในการใช้ชีวิต
-ต้องการการยอมรับจากคนในสังคม
-ชอบของที่มีคุณภาพ ชอบของ Brandname
กำหนดตามการใช้และการนำไปใช้
-ดูเวลา
-เป็นเครื่องประดับ
-เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะ
-เป็นเครื่องบ่งบอกรสนิยม
-บ่งบอกความเป็นตัวตน
Mag. AD จาก SEVENTEENS Magazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น